ยินดีต้อนรับผู้เยี่ยมชม

   หน้าแรก   หวยรัฐบาล หวยซอง Special VIP ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
"อภิโชค หวยซอง เลขเด็ด สูตรหวย ประกาศเพื่อทราบ"
"ข้อมูลในเว็บเขียนโดยสาธารณชน เป็นการเสนอแนะเพื่อเสี่ยงโชคซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ถูกกฎหมายเท่านั้น ไม่มีการขายหวยทุกชนิด และ ไม่มีใครทราบว่าหวยจะออกตัวไหน โปรดใช้วิจารณญาณ"

หน้า: [1] 2 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอเชิญสมาชิก . biz ร่วมอวยพรเทิดพระเกียรติฉลองวันแม่แห่งชาติ 12 สค 2558  (อ่าน 28601 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
goodrich
Admin
Golden Hero C8
*

พลังน้ำใจ: 26570
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20,330


« เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 07:25:56 »








12 สิงหา มหาราชินี








ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า 


apichoke
Administrator


goodrich
Webmaster


♥~✪ Cane ✪~✿ 
ผู้ช่วยWebmaster


คณะทีมผู้บริหาร ทีมงาน
ท่านอาจารย์ ท่านนักคำนวณ และสมาชิก apichoke.biz


บันทึกการเข้า

goodrich
Admin
Golden Hero C8
*

พลังน้ำใจ: 26570
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20,330


« ตอบ #1 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 07:32:16 »










12 สิงหาคม..วันแม่แห่งชาติ



เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2558
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
สุขภาพและพลานามัยแข็งแรง
เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดกาลนานเทอญ
บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 สิงหาคม 2015, 21:22:44 โดย ♥~✪ Cane ✪~✿ »
goodrich
Admin
Golden Hero C8
*

พลังน้ำใจ: 26570
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20,330


« ตอบ #2 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 07:35:24 »







บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 สิงหาคม 2015, 20:47:45 โดย ♥~✪ Cane ✪~✿ »
goodrich
Admin
Golden Hero C8
*

พลังน้ำใจ: 26570
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20,330


« ตอบ #3 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 07:36:44 »




สิงหาคม ที่สิบสอง แม่ของชาติ
พระภูวนาท สุขฤทัย ทรงชัยศรี

ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ เกินร้อยปี
พระราชินี ยืนยง คงคู่ไทย

พระชนม์มั่น ยืนนาน เจริญชันษา
พระกายา สุขสมบูรณ์ พูลผ่องใส

ทรงสถิตย์ เคียงคู่ พระภูวไนย
สุขฤทัย เกษมสันต์ นิรันดร




ด้วยเกล้ากระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ทีมงานเว็บอภิโชคดอทบิส
นายอภิโชค พิพัฒน์ลาภา (นามปากกา) ร้อยกรอง


บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 สิงหาคม 2015, 07:57:17 โดย sofar »
goodrich
Admin
Golden Hero C8
*

พลังน้ำใจ: 26570
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20,330


« ตอบ #4 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 07:38:21 »





ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายพระพรชัยมงคล
ขอพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ
มีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ ตลอดกาลตลอดไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

♥~✪ Cane ✪~✿  
ผู้ช่วยWebmaster


บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 สิงหาคม 2015, 23:59:04 โดย ♥~✪ Cane ✪~✿ »
goodrich
Admin
Golden Hero C8
*

พลังน้ำใจ: 26570
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20,330


« ตอบ #5 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 07:45:33 »









ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า  

เค

ผู้ช่วยผู้อำนวยการบอร์ด



บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 14:19:46 โดย เค »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:17:21 »







พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร
ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล
(ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร
เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์
บิดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ที่ถนนพระราม 6 กรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระเชษฐาและพระกนิษฐภคินี รวม 3 องค์คือ

1. หม่อมราชวงศ์ กัลยาณกิติ์ กิติยากร

2. หม่อมราชวงศ์ อดุลยกิติ์ กิติยากร

3. หม่อมราชวงศ์ บุษบา กิติยากร


หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เติบโตขึ้นมาในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
จึงทำให้ต้องอยู่ไกลจาก พระบิดามารดาในตอนแรก โดยได้ตามเสด็จฯ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปประทับ ที่จังหวัดสงขลา ในปี 2476

ต่อมา เมื่อหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ มีอายุได้ 5 ขวบ
ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรก ในชั้นอนุบาลที่โรงเรียน ราชินี เมื่อปี 2480
และเมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพา ได้แผ่ขยายมาถึงประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ถูกโจมตีทางอากาศบ่อยครั้ง
ทำให้การคมนาคม ขาดความสะดวกและปลอดภัยหม่อมเจ้านักขัตรมงคล
จึงให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ย้ายไปเรียนที่ โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์
ในชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 จนถึงชั้นมัธยมศึกษา เพราะอยู่ใกล้บ้าน

และที่นี่หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ ได้เริ่มเรียนเปียโน ซึ่งสามารถเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ
นอกเหนือไปจาก ความสามารถทางด้าน ภาษาต่างประเทศคือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส
ที่สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน เมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 สงบลง
รัฐบาลไทยซึ่งขณะนั้นมี พันตรีควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ได้ทูลขอให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสำนักเซ็นต์เยมส์
ประเทศอังกฤษเมื่อปี 2489 โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย

ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษและเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว
ระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ศึกษาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส กับครูพิเศษ
ควบไป กับการเรียนเปียโน ต่อมาไม่นานนัก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่ง
 เอกอัครราชทูต ประจำประเทศเดนมาร์กและต่อไปที่ประเทศฝรั่งเศส
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ยังคงเรียนเปียโนเพื่อหาโอกาส เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรี ที่มีชื่อของกรุงปารีส

และที่ประเทศฝรั่งเศสนี้เองที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
(ขณะนั้นทรงเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วและ เสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อที่สวิสเซอร์แลนด์)
ซึ่งทรงโปรดการเสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จาก สวิสเซอร์แลนด์
เพื่อทอดพระเนตรรถยนต์ แทนคันเดิมที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาเป็นเวลานาน
และการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงอยู่บ่อยครั้ง
และในระหว่าง ที่เสด็จฯ มายังกรุงปารีส ก็จะทรง ประทับที่สถานทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศส
เช่นเดียวกันกับนักเรียนไทยคนอื่น

และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการดนตรีเป็นพิเศษ
ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เองก็สนใจและรอบรู้เข้าใจ ในศิลปะการดนตรีเป็นอย่างดี
ทำให้เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย จนกลายเป็น ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในที่สุด

ในปี 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
และทรงเข้ารับ การรักษาพระองค์ในโรงพยาบาล โดยมีหม่อมหลวงบัว
และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ ถวายการพยาบาลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สวิสเซอร์แลนด์นั้น
สมเด็จพระราชชนนี ได้ทรงรับเป็นธุระ จัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาใน Pensionnat Rinate Rive
ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ของโลซานน์

จนเมื่อหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจาก อาการประชวรแล้ว
ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492

บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 02:35:37 โดย ♥~✪ Cane ✪~✿ »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:17:44 »








หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ยังคงศึกษาต่อกระทั่ง พ.ศ. 2493
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนคร   
เพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับ
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถในในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม
โดยมีสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จ เป็นองค์ประธาน
ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในทะเบียนสมรส
และ โปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรพร้อมทั้งสักขีพยานลงนามในทะเบียนนั้น
หลังจากนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จออกในพระราชพิธีถวายน้ำพระพุทธมนต์เทพ
มนต์แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทรงรดน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร
ในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณี

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศ
สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรขึ้นเป็น "สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์"
พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์
อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ในการนี้ด้วย

ต่อมา ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราช ดำริว่า 
ตามโบราณราชประเพณีเมื่อสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ไ
ด้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อมโปรดให้
สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี   

ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี

หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ
แล้วเสด็จฯ กลับมาอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2495

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
เมื่อปี พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์
จะเสด็จฯ ออกผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน
เป็นระยะเวลา 15 วัน  จึงต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

 ดังนั้น พระองค์ทรงพระราชดำริ ว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีเป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถในอันที่จะรับพระราชภาระกิจในคราวนี้ได้
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ทรงผนวช

ต่อมา ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกันนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประกาศว่า ตามราชประเพณี
เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
เคยมีประกาศให้ออกพระนามว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
และทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ในระหว่างที่ทรงผนวชและได้ปฏิบัติพระราชภาระกิจแทนพระองค์
ด้วยพระปรีชาสามารถ สนองพระราชประสงค์เป็นที่เรียบร้อย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีว่า
"สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ"
นับว่าทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระองค์ที่ 2 ของประเทศไทย
โดยพระองค์แรก คือ สมเด็ จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ
(ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง)

พระราชโอรส-ธิดา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

มีพระราชโอรส และพระราชธิดา 4 พระองค์ ดังนี้

 

- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

ประสูติ ณ สถานพยาบาลมองซัวซี นครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494


- สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ
เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร
กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร

ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495
ต่อมา ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร


- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์

ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498
ต่อมา ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศเป็น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ประจำปี พ.ศ. 2520


- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์  อัครราชกุมารี

ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500

บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 02:46:39 โดย ♥~✪ Cane ✪~✿ »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:17:57 »







พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถสนพระราชหฤทัยในด้านการศึกษา
และทรงยึดมั่นในคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
"ปัญญาทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์" สติปัญญาเกิดขึ้นได้ด้วยการศึกษาหาความรู้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการอ่านหนังสือ พระราชกรณียกิจด้านการศึกษานานัปการ

ที่พระราชทานแกพสกนิกรชาวไทยนั้นประกอบด้วย ทรงส่งเสริมการศึกษาในระบบโรงเรียน
เช่น พระราชทานทุนการศึกษาแกนักเรียน สร้างโรงเรียน พระราชทานพระราชทรัพย์อุดหนุนโรงเรียน
 พระราชทานอุปกรณ์การเรียน ทรงรับโรงเรียนไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน เป็นต้น ด้านการศึกษานอกโรงเรียน
เช่น ทรงสอนหนังสือชาวบ้าน ทรงสร้างศาลาร่วมใจ ทรงส่งเสริมการอาชีวศึกษา
 ทรงอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนางานศิลปาชีพ นอกจากนี้ ยังทรงส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร
และทรงรับมูลนิธิแม่ชีไทยไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นต้น

          พระอัจฉริยภาพด้านการศึกษาของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
เป็นที่ประจักษ์ทั่วไปทั้งในประเทศและนานาประเทศ
พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญด้วยพระวิริยอุตสาหะพระราชทาน
แก่องค์การศึกษาของภาครัฐ ภาคเอกชน และพสกนิกรทั่วไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษามีฐานนะยากจน หรืออยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร
ทำให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อม

ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางการ ศึกษาแด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ

เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒใน พ.ศ. 2509
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใน พ.ศ. 2516 และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2535


ทรงเป็นครูที่ดี

          สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถพระอุปนิสัยรักการอ่านหนังสือมาก
ซึ่งเป็นอุปนิสัยที่ได้ถ่ายทอดมายังพระราชโอรสพระราชธิดาทุกพระองค์
นอกจากจะโปรดการอ่านแล้วยังโปรดการเป็นครูด้วย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงเล่าไว้ในพระราชนิพนธ์
เรื่อง "สมเด็จแม่กับการศึกษา" ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
โปรดการเป็นครูมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยทรงเล่นเป็นครูและนักเรียนกับเด็กที่บ้าน
ทรงมีวิธีการสอนที่สนุก เด็กๆ ในบ้านจึงชอบเป็นลูกศิษย์ของพระองค์
เมื่อพระราชโอรสและพระราชธิดายังทรงพระเยาว์ ทรงสอนให้พับกระดาษ เขียนรูป
และทำการฝีมือต่าง ๆ ก่อนเข้าบรรทมทรงอ่านหนังสือหรือทรงเล่านิทานพระราชทาน
และทรงซื้อหนังสือพระราชทานด้วย ซึ่งมีทั้งวรรณคดี ภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม พุทธศาสนา ฯลฯ


เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ขณะที่เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมที่วังไกลกังวล
อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากเสด็จเยี่ยมราษฎรแล้ว
ทรงใช้ศาลาริมหาดปราณบุรี ประทับสอนหนังสือราษฎรด้วยพระองค์เอง
ทรงทำหน้าที่เป็นครูใหญ่และข้าราชบริพารที่ตามเสด็จเป็นครูน้อยช่วยสอน หนังสือด้วย
ทรงวางแผนการศึกษาอย่างมีระบบ โดยจัดครูสอนเป็นกลุ่ม ๆ ตามความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
และพระราชทานหนังสือเรียนให้ ซึ่งมีทั้งหนังสือเรียนตามระดับชั้น
หนังสืออ่านประกอบ และหนังสือความรู้ทั่วไปสำหรับเด็กโต เช่น นิทานพื้นบ้าน นิทานชาดก ประวัติศาสตร์


สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถจะใช้วิธีสอนแบบตัวต่อตัวบ้าง
เป็นกลุ่มเล็ก ๆ 2-3 คนบ้าง ทรงทดลองความรู้พื้นฐานของผู้เรียนโดยการซักถาม
 ให้อ่านหนังสือถวาย แล้วจึงเริ่มเรียนแล้วหัดอ่านจากผู้ช่วยต่อไป
ทรงมีบันทึกรายชื่อนักเรียน ผลการเรียนและทรงติดตามความก้าวหน้าในการเรียนอย่างใกล้ชิด
ถ้าใครเรียนดีก็จะพระราชทานรางวัลให้วิธีการสอนของพระองค์นอกจากจะมุ่งให้
เด็กอ่านออกเขียนได้แล้ว ยังทรงแทรกความรู้ทางพุทธศาสนา จริยธรรม สุขภาพอนามัย
และความรักชาติรักแผ่นดินเกิดด้วย นับเป็นแบบอย่างที่ดีของครู
เพราะนอกจากจะทรงสอนวิชาการแล้ว ยังทรงอบรมให้เป็นคนดีด้วย


ทรงเป็นนักการศึกษา

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถมิได้ศึกษาด้านการศึกษาโดยตรง
แต่พระราชดำริที่พระราชทานในเรื่องการศึกษา ไม่ว่าจะเกี่ยวกับนักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์
โครงการศิลปาชีพ หรือศาลารวมใจล้วนแสดงถึงพระปรีชาญาณ
ด้านการจัดการศึกษาของชาติทั้งสิ้น ศาลารวมใจ ที่พระราชทานไว้เมื่อ พ.ศ. 2519
 นั้น คือโครงการที่สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาสากลว่า การศึกษาคือชีวิต
ประชาชนควรมีโอกาสที่จะศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต ไม่เฉพาะแต่ในโรงเรียนเท่านั้น


ศาลารวมใจ คือแหล่งเรียนรู้ที่ชาวบ้านสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
เป็นที่พบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด สร้างความสามัคคีให้เกิดในชุมชน
หนังสือประเภทต่าง ๆ ที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานไว้ที่ศาลารวมใจทุก ๆ แห่ง
คือ หนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศไทย ประวัติศาสตร์ วรรณคดี
ศาสนาขนบธรรมเนียมประเพณี นวนิยายที่มีคติสอนใจ คู่มือทำการเกษตร ฯลฯ
ชาวบ้านสามารถติดตามข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับบ้านเมืองได้
นอกจากนี้ยังมีรูปภาพติดตามผนัง มีสมุดภาพซึ่งรวบรวมภาพต่าง ๆ จากนิตยสาร
ปฎิทินหรือภาพสิ่งที่น่าสนใจของประเทศไทย บางคราวที่เสด็จแปรพระราชฐานไปทรงเยี่ยมราษฎร
 ก็โปรดให้ราษฎรเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่ศาลารวมใจ ทรงฉายสไลด์
และทรงบรรยายเรื่องราวด้วยพระองค์เอง ศาลารวมใจนี้นากจากเป็นห้องสมุด
ที่ชาวบ้านสามารถหาความรู้ด้วยตนเองแล้วยัง มีห้องปฐมพยาบาลที่ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
เพราะนอกจากจะมียาพระราชทานแล้ว ยังเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร
หมอหมู่บ้าน เป็นผู้ดูแลอย่างน้อย 1 คน เจ้าหน้าที่เหล่านี้มีความรู้พื้นฐานด้านการปฐมพยาบาล
การสาธารณสุข และการใช้ยาสามัญประจำบ้าน สามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือชาวบ้านได้
ศาลารวมใจจึงเปรียบเสมือนศูนย์รวมชาวบ้านในท้องถิ่นทุรกันดาร เป็นทั้งห้องสมุด ห้องพยาบาล
และห้องประชุมในคราวเดียวกัน ศาลารวมใจหลายแห่งสร้างอยู่ใกล้วัด
ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน เพื่อดึงดูดให้ชาวบ้านที่มาวัดสนใจ
ที่จะหาความรู้จากศาลารวมใจด้วย ศาลารวมใจมีทั้งหมด 7 แห่ง ดังนี้

ศาลารวมใจที่ภาคเหนือ ได้แก่

 ศาลารวมใจบ้านกาด บ้านคอนเปา หมู่ 4 ตำบลบ้านกาด อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
พระราชทานเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2519
 ศาลารวมใจบ้านขุนคง บ้านขุนคง หมู่ที่ 5 ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
พระราชทาน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2519
 ศาลารวมใจ พร้าว บ้านสหกรณ์นิคม 2 หมู่ที่ 6 ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
พระราชทานเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2519
 ศาลารวมใจบ้านวัดจันทร์บ้านวัดจันทร์ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
พระราชทานเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2533


ศาลารวมใจภาคอีสาน ได้แก่
 ศาลารวมใจเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
พระราชทานเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2535


ศาลารวมใจภาคใต้ ได้แก่

 ศาลารวมใจวัดพระพุทธ บ้านวัดพระพุทธ หมู่ที่ 3 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
พระราชทานเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2521
 ศาลา รวมใจวัดสารวัน บ้านลุดง (สารวัน) หมู่ที่ 2 ตำบลไทรทอง กิ่งอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
พระราชทานเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2527

การจัดสร้างศาลารวมใจได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหลายฝ่ายทั้งหน่วยงานของ รัฐและประชาชน
ราษฎรในถิ่นร่วมมือร่วมใจกันดูแลและพัฒนาบริเวณโดยรอบของศาลารวมใจ
เช่น การทำความสะอาดและการปลูกต้นไม้ให้สวยงามน่าดู
ศาลารวมใจที่พระราชทานนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป


ทรงส่งเสริมการอาชีวศึกษา

ตลอดระยะเวลาที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุก ภาคของประเทศ
ทรงพบว่าราษฎรส่วนหนึ่งที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทนั้นยากจน
ไม่มีที่ทำกิน ไม่มีอาชีพ ด้อยโอกาสทางการศึกษา มีความรู้เรื่องสุขอนามัย

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมอาชีพของราษฎร
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวให้มีความสุข
ทุกครั้งที่เสด็จพระราชทานดำเนินไปเยี่ยมราษฎรจะทรงสังเกตุชีวิตความเป็นอยู่
สุขภาพอนามัย การแต่งกาย และสิ่งของที่ราษฎรนำมาทูลเกล้ากระหม่อมถวาย
ว่าจะมีสิ่งใดหรือวิธีใดที่จะทรงหยิบยกขึ้นมาส่งเสริมให้เป็นอาชีพเสริมแก่ ราษฎรได้
 เช่น ราษฎรแต่งกายด้วยผ้าไหมมัดหมี่ที่ทอใช้กันเองในครัวเรือน
ก็ทรงตระหนักด้วยพระปรีชาญาณว่า
หัตถกรรมเหล่านี้มีคุณค่าทางศิลปะซึ่งสืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ
สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้ให้เป็นสมบัติของชาติ พระราชดำริที่จะพัฒนางานหัตถกรรมพื้นบ้านต่าง ๆ
เช่น หัตถกรรมทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน
เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องถม ไม้แกะสลัก เป็นต้น

ได้กลายเป็นโครงการศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถสัมฤทธิผล
ของโครงการศิลปาชีพ ถือเป็นการศึกษาด้านอาชีพ หรือการอาชีวศึกษาที่สำคัญของชาติ
เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นที่ชื่นชมของนานาประเทศ

การศึกษาด้านศิลปาชีพนั้นพัฒนาอย่างรวดเร็ว
ด้วยทรงวางแผนการศึกษาอย่างครบวงจร โปรดให้ชาวบ้านในชุมชนเดียวกันนั้น
หรือชุมชนใกล้เคียงเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านหัตถกรรมทั้งหลายให้แก่ลูกหลาน
หรือเพื่อนบ้านของตน เช่น การทอผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมแพรวา
ผ้าไหมและผ้าฝ้ายลวดลายดั้งเดิมชนิดต่าง ๆ การจักสาน
เช่น จักสานย่านลิเภา ไม้ไผ่และหวาย เป็นต้น ส่วนงานหัตถกรรมที่ชาวบ้านไม่เคยเรียนรู้มาก่อน
เช่นการปั้นตุ๊กตาไทย หรืองานหัตถกรรมที่ต้องใช้ความสามารถและความอดทนสูง
เช่น งานเครื่องเงินเครื่องทอง งานคร่ำ งานถมเงินถมทอง ก็โปรดให้แสวงหาครูผู้มีความสามารถ
เช่น นานไพฑูรย์ เมืองสมบรูณ์ และนายจุลทัศน์ พยาฆรานนท์ มาถ่ายทอดวิชาให้

เมื่อนักเรียนในโครงการมีฝีมือดีและชำนาญแล้ว ก็จะคัดเลือกให้เป็นครูต่อไป
ทรงติดตามผลงานจากผลิตภัณฑ์ทุกชิ้น และพระราชทานคำแนะนำในการพัฒนางานให้สวยงามสมบรูณ์ขึ้น
ทรงหาตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ทรงรับซื้อด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
ทรงเป็นแบบอย่างให้ประชาชนใช้ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่นิยมของคนไทย
และชาวต่างประเทศพระอัจฉริยภาพของสมเด็จ พระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
ในการพัฒนางานอาชีพตามโครงการศิลปาชีพ
นอกจากจะส่งผลให้สมาชิกในโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว
 ยังเป็นการสร้างช่างฝีมือที่ชำนาญในศิลปะไทยหลายแขนง
เช่น ช่างทอง ช่างเขียน ช่างปั้น ช่างไม้แกะสลัก ฯลฯ
ซึ่งล้วนแต่เป็นศิลปะที่ประณีตงดงามเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติภูมิของ ไทยอย่างยิ่ง


พระบรมราชินูปภัมภ์ด้านการศึกษา

โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ 1
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนเริ่มแรกเป็นเงิน 13,500 บาท
ในการสร้างโรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ 1
สำหรับชาวไทยภูเขาเผ่าเย้าที่บ้านห้วยขาน ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 25 เมษายา พ.ศ. 2505
ทรงมอบโรงเรียนให้อยู่ในความดูแลของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน
ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่สอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ


โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ 2 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 20,000 บาท
เพื่อสร้างอาคารหลังใหม่ให้แก่โรงเรียนชายแดนสงเคราะห์ 14 ของชาวไทยภูเขา
เผ่าม้ง ตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ต่อมาเสด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคา
รเมื่อ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510
และพระราชทานนามว่า "โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ 2"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ
พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียนนี้หลายครั้ง
โรงเรียนได้โอนไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. 2523


นักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถทรงรับนักเรียนยากจน
ขาดโอกาสทางการศึกษาที่ทรงพบด้วยพระองค์เอง
ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร
ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์เกือบสองพันคน
มีพระราชเสาวนีย์ให้กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถติดตาม
ดูแลความประพฤติ และความเป็นอยู่ของนักเรียนนิสิต นักศึกษาที่ได้รับทุนเหล่านี้อย่างใกล้ชิด
กองราชเลขานุการฯ มีหน้าที่จะต้องกราบยังคมทูลรายงานให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาททุกเดือน
นักเรียนทุนจะมีแฟ้มประวัติประจำตัว มีข้อมูลบันทึกไว้ครบถ้วน
เช่น ประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว สถานศึกษา รูปถ่าย ที่อยู่ที่ติดต่อได้
ผลการเรียน บัญชีค่าใช้จ่ายที่พระราชทาน จดหมายรายงานความเป็นอยู่ของรักเรียน ฯลฯ
ทุนการศึกษานี้พระราชทานแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด


นอกจากนี้ยังพระราชทานทุนการศึกษาแก่เด็กพิการให้เข้ารับราชการศึกษาใน โรงเรียนการศึกษาพิเศษ คือ

โรงเรียนสอนคนตาบอด ได้แก่ โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพมหานคร
โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียน สอนคนหูหนวก-หูตึง ได้แก่ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ถนนพระราม 5
 โรงเรียนโสตศึกษา ทุ่งมหาเมฆ กรุงเทพมหานาคร
โรงเรียนอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่
 โรงเรียนโสตศึกษาขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดสงขลา
โรงเรียนสอนคนปัญญาอ่อน ได้แก่ โรงเรียนกาวิละอนุกูล จังวหัดเชียงใหม่
โรงเรียนอุบลปัญญานุกูล จังหวัดอุบลราชธานี
 โรงเรียนสอนคนพิการแขนขา และลำตัว ได้แก่ศรีสังวาลย์ จังหวัดนนทบุรี

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถมีพระราชเสาวนีย์ให้กองราชเลขานุการ ฯ
ปฏิบัติเช่นเดียวกับนักเรียนสามัญ มีประวัติและติดตามผลการศึกษา
จนจบการศึกษาตามความสามารถ เพื่อไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณสูงสุด แก่นักเรียนและการศึกษาของชาติ

บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 03:06:49 โดย ♥~✪ Cane ✪~✿ »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:24:32 »









พระราชกรณียกิจด้านศาสนา

พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามะกะ และเป็นอัครศาสนูปถัมภก
ประชาชนมีสิทธิและเสรี ในการนับถือศาสนา ตามที่ตนเชื่อ และศรัทธา

สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงตระหนักว่า ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์มิให้ประพฤติปฎิบัติในสิ่งที่เป็น ความชั่ว
และเป็นแนวทางให้มนุษย์เลือกกระทำแต่ความดี จึงทรงตระหนักถึงความสำคัญในการอุปถัมภ์ศาสนา นอกจากจะทรงเป็นพุทธศาสนิกชน
ที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางศาสนาโดยสม่ำเสมอแล้ว


ยังทรงทะนุบำรุงศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ฮินดู และ ซิกข์
เพราะทรงถือว่าทุกศาสนาต่างก็มีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ของประชาชนเช่นเดียวกัน
ดังนั้น คราวใดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปในงานพระราชพิธี หรือทรงประกอบพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับศาสนา
สมเด็จพระบรมราชินีนาถมักจะโดยเสด็จเสมอไม่ว่าจะเป็นพิธีของศานาใด บางครั้งก็เสด็จพระราชดำเนินโดยลำพังพระองค์เอง
ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจด้วยความเคารพในประเพณีของศาสนานั้น ๆ อย่างดียิ่ง

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
ด้วยทรงรับการอบรบพื้นฐานความรู้เรื่องศาสนามาจากพระบิดาพระมารดา คือ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทร์บุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิตกิยากร
ทรงเป็นพุทธศานาสนิกชนที่เคร่งครัดทรงเคารพนอบน้อมในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ทรงบำเพ็ญกุศลทาง
เช่น ทรงบาตร ทรงเก็บดอกไม้มาบูชาพระ ทรงสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยได้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
มีน้ำพระราชหฤทัยเอื้อเฟื้อเผื้อแผ่ ทรงยึดมั่นในสัจจะ อยู่ในโอวาทครูอาจารย์ พระบิดามารดา

เมื่อเข้าสู่พระราชพิธีราชาพิเษกสมรส และทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถแล้ว
ได้ทรงศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมในพระบวรพุทธศาสนามากขึ้น ทรงยกย่องเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นผู้พระราชทานความรู้แก่พระองค์ในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงนมัสการ
และสนทนาธรรมกับพระ เถรานุเถระอยู่เสมอ ทรงใช้หลักธรรมเป็นแนวปฏิบัติทั้งในส่วนพระองค์และในฐานะสมเด็จพระบรม ราชินีนาถ
ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่กลุ่มนักข่าวหญิง เมื่อ พ.ศ. 2524 ว่า

"....ฉันรู้สึกว่า ชีวิตของฉันทั้งโดยฐานะส่วนตัว และในฐานะที่เป็นพระราชินี ถ้าเผื่อไม่ได้พระพุทธศาสนา ก็คงจะแข็งแรงอยู่ไม่ได้อย่างนี้..."
สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงพยายามทุกวิถีทางและทุกโอกาสที่จะทรงแนะนำให้ พสกนิกรเห็นว่า ความเจริญทางด้านจิตใจเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุด
ไม่น้อยไปกว่าความเจริญทางด้านวัตถุ เพราะจะช่วยให้ชีวิตมนุษย์สมบรูณ์และมีค่า ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่นักศึกษาว่าพยาบาล
ณ หอประชุมราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม พ.ศ. 2510 ความตอนหนึ่งว่า

ความเจริญทางด้านวัตถุจำต้องควบคู่ไปกับความเจริญทางด้านจิตใจจะทำให้ชีวิต มนุษย์สมบรูณ์และมีค่า
บุคคลแม้จะเป็นผู้ที่ขาดความมั่นคงทางวัตถุ แต่ร่ำรวยในด้านคุณธรรม มีความรักและห่วงใยในเพื่อนมนุษย์
จึงนับว่าเป็นผู้ที่พระพุทธศาสนายกย่องแล้วว่าเจริญแท้..."

นอกจากทรงได้รับความรู้ทางธรรมะจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถยังทรงศึกษาธรรม
ด้วยการทรงสนทนาธรรมกับพระเถระและภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ใน ยามที่เสด็จแปรพระราชฐานไปทรงเยี่ยมราษฎร
ในภูมิภาคต่าง ๆ หากทรงมีโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมวัดวาอารามใด ก็จะมีพระราชศรัทธาถวายเงินบำรุงวัด
รวมทั้งทรงสนทนาธรรมกับพระภิกษุสงฆ์ที่วัดเหล่านั้น นอกจากนี้ ยังโปรดให้ข้าราชบริพารจัดซื้อหนังสือธรรมะ
หนังสือเกี่ยวกับพุทธประวัติ ประวัติพระอัครสาวก และพระอริยสงฆ์มาถวาย

สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงยึดในพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ทรงพระเมตตากรุณาแก่ราษฎรทั่วไป
โดยเฉพาะคนป่วย คนชรา คนพิการ คนปัญญาอ่อนและเด็ก ทรงปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข โปรดการทำบุญหรือการสังเคราะห์มาแต่ทรงพระเยาว์
ทรงดำรงตำแหน่งประธาน กิตติมศักดิ์ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงตั้ง "กองทุนเมตตา" ขึ้นโดยพระราชทรัพย์ริเริ่ม
 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างรุนแรงและกระทบกับสถานภาพทางครอบครัว มีน้ำพระราชหฤทัยเมตตาห่วงใยบุคคลผู้พิการทั้งทางร่างกายและสมอง
 มีพระราชดำริว่า ผู้พิการควรได้รับความเอาใจใส่ดูแลได้รับการบำบัดรักษาเมื่อป่วยเจ็บเช่น เดียวกันกับบุคคลทั่วไป และควรได้รับการอบรมให้มีอาชีพตามความถนัด
 เพื่อจะได้ยังประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้นอกจากนี้ยังทรงไว้ซึ่งมุทิตาธรรม มีพระราชหฤทัยโสมมัสในความสุข ความเจริญและความสำเร็จของอาณาประชาราษฏร์
 และทรงส่งเสริมพระราชทานกำลังใจทำความดียิ่งขึ้น ทรงรักษาอุเบกขาธรรมวางพระองค์เป็นกลางไม่ทรงหวาดเกรงภยันตรายต่าง ๆ
 เมื่อต้องเสด็จพระราชดำเนินไปในถิ่นทุรกันดารเพื่อเยี่ยมเยียนราษฎร ทรงยึดมั่นในเบญจศีล เบญจธรรม อันเป็นธรรมะขั้นพื้นฐานที่สอนเว้นการทำชั่วประพฤติดีปฏิบัติชอบ
 มีพระราชศรัทธาอุปถัมภ์บำรุงพุทธศาสนา นอกจากการบำรุงด้วยพระราชทรัพย์แล้ว ยังทรงช่วยเผยแผ่ธรรมะด้วยวิธีการหลายหลาก
เช่น พระราชทานเทปและหนังสือธรรมะแก่ผู้อยู่ในความทุกข์หรือเจ็บป่วย หรือพระราชทานไปยังโรงเรียนเพื่อเป็นการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระ พุทธองค์แก่เยาวชน



นอกจากนี้ ยังทรงอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์หลายด้าน เช่น ทรงถวายปัจจัยแด่พระเถระขั้นผู้ใหญ่ และพระเถระที่ทรงรู้จักเป็นประจำทุกเดือน
ทรงอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธ ทรงถวายปัจจัยเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือพระราชทานทรัพย์แก่โรงพยาบาลเป็นทุนในการบริการ
 และอำนวยความสะดวกแกพระสงฆ์ที่มารับการรักษา ตลอดจนมีพระราชเสาวนีย์ให้จัดภัตตาหารไปถวายพระเถระที่อาพาธเป็นพิเศษ เป็นต้น

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงรับสถาบันแม่ชีไทยไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ด้วยทรงเล็งเห็นว่าสถาบันแม่ชีไทยเป็นสถาบันของสตรีกลุ่มใหญ่ที่มุ่งรักษา ศีล บำเพ็ญธรรม
 และช่วยทำงานให้แก่สังคมในด้านการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก อีกทั้งทรงรับ "มูลนิธิส่งเสริมพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์"
ของสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัยไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการสอนศีลธรรมแก่เยาวชน

นอกจากจะทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัดแล้ว สมเด็จพระบรมราชินีนาถยังทรงอุปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่นในประเทศด้วย เพราะมีพระราชศรัทธาว่า
ทุกศาสนาล้วนมีหลักธรรมที่สอนให้คนประพฤติปฎิบัติในสิ่งที่ดีงามเช่นเดียว กัน มักจะเสด็จพระราชดำเนินหรือโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปในงานพิธี
ของศาสนาต่าง ๆ โดยมิทรงเลือกว่าเป็นงานพิธีของศาสนาใด ดังเช่นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ออกรับเสด็จพระสันตปาปา จอนห์น ปอล ที่ 2 ในโอกาสเสด็จเยือนประเทศไทย ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทด้วยความเคารพยกย่องอย่างสมพระเกียรติ
ยังความชื่นชมยินดีมาสู่คริสตศานิกชนในประเทศไทยเป็นอันมาก

เมื่อทรงแปรพระราชฐานไปเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีขนมธรรมเนียมแตกต่างออกไปตามหลักปฎิบัติของศาสนา
ก้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรเหล่านั้นโดยมิได้เว้น ด้วยทรงถือว่าทุกคนเป็นราษฎรของพระองค์เช่นเดียวกัน
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมมัสยิดที่อิหม่ามประจำมัสยิดกราบบังคมทูล เชิญเสด็จ และพระราชทานเงินบำรุงมัสยิดนั้น ๆ
ในเดือนรอมฎอนอันเป็นเดือนที่ชาวมุสลิมถือศีลอด ยังทรงพระกรุณาพระราชทานอินทผลัมแก่อิหท่ามในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย

พระราชกรณียกิจในการทะนุบำรุงศาสนาในพระราชอาณาจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระ พุทธศาสนา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้ทรง
ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชนตลอดมา ทำให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อม
ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 2546 เพื่อเฉลิมพระเกียรติให้แผ่ไพศาลยิ่งขึ้น

บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 13:58:31 โดย เค »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:51:57 »









พระราชกรณียกิจ ด้านสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์

ในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรได้ทรงรับฉันทานุมัติ
เป็นผู้กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล ในพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ มีความตอนหนึ่งว่า

"...ได้ทรงเลือกสรรประสบผู้ที่สมควรแก่การสนองพระยุคลบาทร่วมทุกข์ แบ่งเบาพระราชภาระในภายภาคหน้า..."

ในครั้งนั้น ใครจะคิดว่าพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นพระประมุขของประเทศ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น
 นอกจากการประกอบพระราชกรณียกิจ ที่เป็นพระราชพิธี รัฐพิธี ศาสนพิธี และพระราชกรณียกิจที่กำหนดชัดเจนในรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทยแล้วจะยังมี
พระ ราชกรณียกิจอื่นที่มากพ้นล้นเหลือประมาณอีกด้วย แต่จากวันนั้นถึงวันนี้ คนไทยก็ได้ประจักษ์ว่าพระราชกรณียกิจ
ทั้งหลายทั้งปวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติมากมายสุดจะพรรณา นั้นทรงปฏิบัติด้วยพระราชหฤทัยห่วงใยประชาชนและประเทศชาติบ้านเมือง
ได้ทรงพระวิริยอุตสาหะไม่ท้อถอย ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข พัฒนาอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ทรงแก้ไขปัญหาวิกฤตของบ้านเมืองทุก ๆ ด้าน
ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถก็ได้ทรงแบ่งเบาพระราชภาระต่าง ๆ มาโดยตลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
พระราชกรณียกิจด้านสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบทให้มีความรู้ มีงานมีรายได้ สามารถดำรงชีวิตอย่างมีสุขอนามัย

เมื่อครั้งทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินีใหม่ ๆ นั้น เมื่อ เกิดอุทกภัยวาตภัย และอัคคีภัยขึ้นที่จังหวัดใด ราษฎรได้รับความเดือดร้อน
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าราชบริพารฝ่ายในนำอาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค
สิ่งของเครื่องใช้ไปแจกจ่าย ให้แก่ผู้ที่ประสบภัยเหล่านั้นอย่างทันท่วงที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการประชุมการสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ
ครั้งที่ 1 ที่กรมประชาสงเคราะห์ร่วมกับองค์กรเอกชนจัดขึ้น ณ ศาลาสันติธรรม เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ได้มีพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า

"ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังเร่งรัดสร้างสรรค์ความเจริญ จำเป็นต้องตระหนักถึงผลทางสังคมอันจะเกิดขึ้นและเตรียมที่จะรับปัญหานั้นใน
เรื่องนี้เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงข้อขัดข้องและความผิดพลาด น่าจะศึกษาบทเรียนที่ประเทศต่าง ๆ ได้รับในระยะการพัฒนาการ
ส่วนผู้ที่เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิตลอดจนผู้แทนและผู้สังเกตการณ์จากหน่วย งานหรือองค์กรสถานศึกษาต่าง ๆ นั้น
ก็ควรจะ ประสานงานสอดคล้องต้องกันเพื่อพัฒนางานในด้านนั้นให้เกิดประโยชน์อันยิ่ง ใหญ่แก่ประชาชน ซึ่งเป็นกุศลบุญ ควรแก่การอนุโมทนา..."

พระราชดำรัสในเรื่องการสังคมสงเคราะห์เมื่อกว่าสี่สิบปีมาแล้วแสดงถึงความสน พระราชหฤทัยและความถี่ถ้วนรอบคอบในกิจการทั้งปวงที่หน่วยงานต่าง ๆ
 ควรจะต้องประสานงานกัน การศึกษาสังเกตการณ์ซึ่งได้ทรงถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การสังคมสงเคราะห์ในระยะต่อมาได้ทรงค่อย ๆ
 เปลี่ยนจากการที่ทรง "ให้" เป็นความพยายามให้ราฏรได้ช่วยตนเองด้านการตามแนวทางและวิธีการ
โดยอาศัยความรู้ความสามารถที่ราฏรมีอยู่แล้วในแต่ละท้องถิ่นแต่ได้ถูกทอด ทิ้งละลืม ให้นำมาพัฒนาใช้ให้เป็นประโยชน์

เมื่อมีการจัดตั้งสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยขึ้นใน พ.ศ. 2503 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานเปิดการประชุมหลายครั้ง ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2505
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และพระราชทานทุนทรัพย์ตั้ง "กองทุนเมตตา" ขึ้น
เมื่อทรงทราบว่า คนบางคนแม้จะตั้งใจประกอบอาชีพโดยสุจริตด้วยความขยันแล้ว แต่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่ความจำเป็นที่ต้องใช้จ่าย
จึงเดือดร้อนด้วยประการต่าง ๆ จนมีหนี้สินพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ ยากที่จะปลดเปลื้องได้ เกิดความเดือดร้อน เป็นความทุกข์ของครอบครัวทับถมซับซ้อน
ก่อให้เกิด ปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ความเจ็บป่วยด้านจิตใจ ความเก็บกดหรือการแก้ปัญหาในทางที่ผิดของเยาวชนที่อยู่ในครอบครัวนั้น ๆ
ความท้อแท้ที่จะ ศึกษาเล่าเรียน จนท้ายที่สุดกลายเป็นปัญหาของสังคม กองทุนเมตตาได้ขจัดปัดเป่าบรรเทาความทุกข์ยากของผู้ที่เดือดร้อนได้ตามวัตถุ
ประสงค์ในเวลานั้น นอกจากนี้ได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวนหนึ่งให้ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ
เป็นทุนริเริ่มกองทุนพระราชทานช่วยเหลือการศึกษาเด็กเยาวชน เพื่อช่วยเหลือเด็กขาดแคลนให้มีโอกาสได้เล่าเรียน
มีความรู้ไปประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตในแนวทางที่ถูกที่ควรกองทุนนี้ต่อมา ได้มีผู้สมทบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และขยายเป็นทุนอื่น ๆ
ที่มีวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกันนี้อีกหลายทุน มีชื่อต่าง ๆ ได้ช่วยสร้างคนให้เป็นคนที่มีคุณค่าแก่แผ่นดินเมื่อเติบโตขึ้น นอกจากนี้
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานพระบรมราชินูปถัมภ์แก่สมาคม และมูลนิธิเพื่อการสังคมสงเคราะห์เป็นจำนวนมาก
เช่น มูลนิธิช่วยเด็กปัญญาอ่อน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์
มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ได้ทรงส่งเสริมการปฏิบัติงานช่วยเหลือองค์กรการสังคมสงเคราะห์ เพื่อดำเนินงานสาธารณกุศล เช่น
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2506 สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ ได้จัดตั้งศูนย์บริการอาสาสมัครขึ้น
เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ประจำของหน่วยงาน บรรเทาทุกข์หรือสาธารณประโยชน์ ได้แก่ โรงพยาบาล ศูนย์เยาวชน สถานสงเคราะห์ ฯลฯ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้คณะกรรมการและอาสาสมัครเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2510 ได้มีพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า

"...การที่คนไทยเรายึดหลักอุดมคติว่า ความทุกข์สุข ไม่ไช่เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล หรือเฉพาะครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งเท่านั้น
เป็นความคิดที่ทันสมัยในโลกปัจจุบัน เราจะมีความสุขแต่ลำพัง โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของคนอีกหลายคนที่แวดล้อมเราอยู่นั้นไม่ได้ผู้
มีจิตหวังประโยชน์ส่วนร่วม ย่อมรู้จักบางปันความสุขเพื่อผู้อื่น และพร้อมที่จะช่วยบรรเทาความทุกข์ของผู้อื่นตามกำลังและโอกาสเสมอ...."

ต่อมา เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคต่าง ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรใน พ.ศ. 2513 เมื่อเกิดอุทกภัยในจังหวัดนครพนม
 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรทางภาคกลางเมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ไร่นาล่ม จมเสียหายใจ พ.ศ. 2518
รวมทั้งในระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชนิเวศน์ในต่างจังหวัด ได้มีพระราชดำรัสถามราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ
 ทำให้ทรงทราบว่าราษฏรในชนบทจำนวนมากยากจน มีรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ และไม่สามารถที่จะหารายได้เพิ่ม
ไม่เห็นหนทางที่จะแก้ไขความเดือดร้อนด้วยตนเอง ขาดแคลนสาธารณสุขพื้นฐานขาดสุขอนามัย ยามเจ็บไข้ก็ไม่มีแพทย์และยารักษาโรคที่จะบำบัดรักษา
 จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น ปรากฏในคำบอกเล่าของ ดร.สุเมธ จันติเวชกุล
ขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมา จากพระราชดำริ (กปร.)
ที่กล่าวในการอภิปรายเรื่อง "สมเด็จฯของเรา" ณ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531
ซึ่งได้เชิญพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ตอนหนึ่งว่า

"...พระเจ้าอยู่หัวและข้าพเจ้าไม่ได้พึงพอใจกับเพียงแต่เยี่ยมเยียนราษฏร หรือทำแต่สิ่งที่เคยทำเป็นประเพณี เราต้องพยายามให้ดีกว่านั้น
 เราต้องช่วยรัฐบาลส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นเพราะเราเป็น ประเทศด้อยพัฒนา ดังนั้นการที่เพียงแค่ไปเยี่ยมเยียนราษฏรเพราะเป็นหน้าที่ของประมุขของ
 ประเทศที่จะต้องทำตามประเพณีนั้น เป็นเรื่องไร้สาระ หากเราไม่สามารถมีส่วนร่วมในการบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนแล้ว เราต้องถือว่าการเป็นประมุขประสบความล้มเหลว...."

พระราชดำรัสครั้งนั้น แสดงถึงพระราชหฤทัยอันมุ่งมั่นที่จะบรรเทาทุกข์ให้แก่ราษฏร และหากทบทวนพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญอย่างจริงจัง
และต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่า ราษฏรในชนบทได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากการเสด็จเยี่ยมทั่วราชอาณาจักรนับ ครั้งไม่ถ้วน
โดยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายพันโครงการ มีทั้งโครงการเรื่องการเกษตรเรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องการฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
 การฟื้นฟูและพัฒนางานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน การแพทย์ การสาธารณสุข ฯลฯ

เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ของราษฏร ในระยะแรกของการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรในต่างจังหวัด
เมื่อทรงพบเห็นว่าราษฏรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ มีอาการเจ็บป่วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระรบมราชินีนาถได้มีพระราชเสาวนีย์ให้แพทย์ที่ตามเสด็จไปในขบวนตรวจอาหาร จ่ายยา
ละให้คำแนะนำแก่ราษฏรในการดูแลรักษาตนเองแต่หากไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ใน ขณะนั้น หรือเป็นโรคที่ร้ายแรง
 จะมีพระราชเสาวนีย์ให้ส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลซึ่งอยู่ใกล้ท้องถิ่น นั้น โดยพระราชทานหนังสือรับรองว่าเป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์
พร้อมค่าเดิน ทาง และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ส่วนค่ารักษาพยาบาลและค่ายานั้น จะพระราชทานแก่โรงพยาบาลโดยตรง
หากผู้ป่วยไม่สามารถไปเองได้จะทรงจัดเจ้าหน้าที่นำไป และพระราชทานค่าใช้จ่ายแก่เจ้าหน้าที่ด้วย
ถ้าโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ท้องถิ่นนั้นขาดบุคลากรทางการแพทย์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ในการรักษา ก็ให้ส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ
 โดยพระราชทานค่าเดินทางและค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรต่างจังหวัด
 หรือขณะแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชนิเวศน์ในภูมิภาคต่าง ๆ มีราษฏรที่เจ็บไข้มาขอรับพระราชทานความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก
 ต้องมีแพทย์และพยาบาลอาสาไปช่วยปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น แล้วยังใช้เวลามากขึ้นจนมืดค่ำ หลายครั้งที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
 และพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงช่วยซักถามประวัติและอาการของผู้ป่วย ตลอดจนช่วยแพทย์ในการจ่ายยา และการบันทึกเพื่อติดตามผล
 นอกจากนี้โรงพยาบาลในท้องถิ่นมักมีความจำกัดในเครื่องเวชภัณฑ์และยารักษาโรค สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
 จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ เพื่อจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้และยาเพิ่มขึ้น หน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมช่วยเหลือคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ เช่น
 ตำรวจตระเวนชายแดนนำคนไข้ไปส่งโรงพยาบาลการรถไฟแห่งประเทศไทย ออกใบเบิกทางให้คนไข้และญาติแทนค่าโดยสารโรงพยาบาล
ลดค่ารักษาพยาบาลให้ ฯลฯ ในระหว่างที่ราษฏรผู้เจ็บป่วย ต้องจากบ้านไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเข้าพระราชหฤทัย
 ถึงความรู้สึกของคนไข้เป็นย่างดีว่าย่อมจะว้าเหว่ เกิดความอ่อนแอทางจิตใจ ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพทางกายเป็นอันมาก
 และคนในครอบครัวก็ย่อมจะห่วงใย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ญาติผู้ใกล้ชิดติดตามไป
 เพื่อช่วยดูแลคนไข้และพราชทานค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ด้วย
บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 14:04:29 โดย เค »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:52:15 »








พระราชภารกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องเล่าของ พลเอกณพล บุณทับ รองสมุหราชองครักษ์

พล.อ.ณพล บุญทับ ข้าราชการบริพารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถที่ได้
รับมอบหมายให้ไปติดตามสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ ได้ เล่าเรื่องรายเกี่ยวกับ โครงการต่างๆที่สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงดำเนินการ
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไว้ดังนี้

โครงการราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โครงการหนึ่ง
คือ โครงการราษฎรอาสารักษาหมู่บ้านเกิดจากเมื่อปี 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จฯเยี่ยมราษฎร
ราษฎรใน 5 หมู่บ้าน ได้ เข้ามาร้องไห้กับพระองค์ท่านแล้วบอกว่าอยู่ไม่ได้ แล้ว เพราะถูกรบกวนหนัก จนมีคนในตำบลตันหยงลิมอ
ถูกตัดคอคามอเตอร์ไซด์ระหว่างไปกรีดยางตอนเช้ามืด ชาวบ้านบอกว่าเหตุการณ์อย่างนี้ไม่เคยเกิดขึ้น
ชาวบ้านถามพระองค์ท่านว่าจะให้พวกฉันอยู่ที่นี่ หรือจะให้ไปจากที่นี่ สมเด็จพระบรมราชินีนาถรับสั่งว่าในเมื่อเราอยู่ที่นี่
เราทำมาหากินที่นี่มาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย แล้วจะอพยพไปที่ไหนกัน

พระองค์ท่านก็ทรงพระกรุณาบอกทหารให้ส่งคนมาช่วยฝึกอาวุธให้ ตามที่ชาวบ้านได้ ถวายฎีกา และรับสั่งว่าที่ให้ฝึกนั้นเพื่อป้องกันตัวเอง
ป้องกันทรัพย์สินพี่น้องเรากันเอง ไม่ได้ มีเจตนาให้พวกเธอเที่ยวเอาปืนไปไล่ฆ่าใครต่อใครเขา ขอให้ทำความเข้าใจกันให้ถ่องแท้
รับสั่งเสมอว่าผู้บริสุทธิ์มีสิทธิ์อยู่บนแผ่นดินนี้ มีทั้งพุทธ และมุสลิมไม่ได้ แยกเชื้อชาติศาสนา ใครขอมาก็ฝึกให้ ครูเองก็มาขอฝึก
 บอกว่าฝึกให้แต่ชาวบ้าน พวกครูยิ่งเสี่ยงอันตรายหนักเลย ฝึกลักษณะการรวมกลุ่มกัน
ใช้อาวุธเข้าเวรยามในการรักษาหมู่บ้านซึ่งมีผลให้หมู่บ้านเกิดความปลอดภัยมากขึ้น
 ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดว่ามีกลุ่มคนต้องการที่จะแบ่งแยกดินแดน เช่น มีการนำวิซีดีภำการตัดศีรษะไปแพร่ภาพในจังหวัดปัตตานี
 ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง คนทำมีวัตถุประสงค์ให้ชาวบ้านหวาดกลัว และไม่อยากจะอยู่ในพื้นที่หากเราปล่อยเหตุการณ์ให้ลุกลามบายปลายบ้านเมืองก็จะแย่

โครงการฟาร์มตัวอย่าง

จากการฝึกอาวุธ ทุกคนก็ระวังตัวหมด ไปไหนก็ไม่กล้าไป เมื่อก่อนเคยขายของในเมือง ไปรับจ้างในเมือง
ตอนนี้จะไปคนเดียวก็ไม่กล้า เลยมีรับสั่งว่าจะช่วยเขาอย่างไรในเรื่องการทำมาหากินจึงได้
เกิดโครงการฟาร์มตัวอย่างขึ้นมา เพื่อจะสร้างงานให้กับชาวบ้าน คนไหนไม่กล้าไปทำงานในเมืองก็มาทำในฟาร์มทำการเกษตร
ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ สัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ และก็มีการทำประมงในครัวเรือน วันใดไม่มีกับข้าวก็สามารถช้อนปลาเป็นอาหาร
 นอกจากนั้นมีการเลี้ยงแพะนม ที่มีโปรตีนสูง ให้จ้างคนเข้ามาทำงาน เพื่อจะสอนให้เรียนรู้การทำเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการ
 เมื่อทำเป็นแล้วก็จะได้ นำกลับไปทำในพื้นที่ของตัวเอง ได้ ผลผลิตเหลือจากรับประทานก็นำมาขายให้ฟาร์มรับซื้อ

การจัดตั้งฟาร์มนั้นอยู่ใกล้ๆกับแหล่งชุมชนเพื่อที่เขาจะได้ มาทำงานง่ายๆอย่างในบางแห่งเป็นกลุ่มของไทยพุทธอาศัยอยู่ท่ามกลางกลุ่มไทยมุสลิม
 ผู้ไม่หวังดีก็ใช้วิธียุยงให้ราษฎรแตกสามัคคีกัน พระองค์ท่านทรงลงไปช่วย 30 กว่าปี ช่วยให้เขาทำมาหากินได้ ทรงทำอย่างต่อเนื่อง
 เช่นเรื่องน้ำ บางบ้านน่าสงสานมาก เพราะขุดขึ้นมาน้ำเป็นสนิม ดีที่ช่วงนี้เป็นหน้าฝน จึงพอบรรเทาได้ บ้าง

พระองค์ท่านทรงยอมทำทุกอย่าง เหน็ดเหนื่อยพระวรกายเพื่อคนในชาติ ซึ่งเหมือนกับลูกของพระองค์ท่าน ไม่ว่าเดือดร้อนมีปัญหาอะไร
 เช่นโครงการปะการังเทียม อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ชาวบ้านร้องไห้ว่าทำมาหากินไม่ได้ เคยทำประมงอยู่ชายฝั่ง
 ตอนนี้ปลาไม่มีจากนั้นตี 3 พระองค์ท่านเรียกประชุม 2 ชั่วโมงว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไร ซึ่งมีสาเหตุจากอวนลากอวนรุน
 ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี เสนอการกำหนดระยะของการทำประมง คือ ระยะ 5 กิโลเมตรจากชายฝั่งใช้เครื่องมือตกปลาขนาดเล็ก
 ระยะ 5 – 10 กิโลเมตร ให้ประมงปั่นไฟ และระยะ 10 – 15 กิโลเมตร อวนลากอวนรุนดำเนินการ
 แล้วก็ทิ้งปะการังเทียมเพื่อป้องกันการใช้อวนที่ระยะผิดประเภทไปในตัว และให้ปลาได้ อาศัยปะการังเทียมนี้เป็นที่หลบยามลมพายุแรงๆ
หรือใช้ชั้ง คือทางมะพร้ามถ่วงด้วยปูนซีเมนต์เพื่อให้ปลาเกาะอยู่ชายฝั่ง

พระองค์ท่านรับสั่งว่าอยากเห็นโครงการนี้เกิดขึ้นก่อนเสด็จฯกลับ ซึ่งตอนนั้นเป็นวันที่ 24 กันยายน พระองค์ท่านเสด็จฯกลับต้นตุลาคม
ทุฝ่ายก็รีบดำเนินการ นี่คือการแก้ปัญหาให้ไทยมุสลิมโดยตรง ที่ปัตตานี ไม้แก่น สายบุรี หนองจิก อำเภอเมือง ปัตตานี จนถึงตากใบ
 นราธิวาสพอทิ้งไป 6เดือน ปลาก็มาวางไข่ ตอนนี้ปลาชุกมาก ชาวบ้านมีกินมีใช้ สามารถนำปลาไปขายได้ กฺโลกรัมละ 200 – 300 บาท
นี่ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ

พระองค์ท่านรับสั่งว่าเขาขาดเสาหลัก ตอนเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยยังไม่ได้ สร้างหลักปักฐาน พอสามีตายก็บ้านแตกสาแหรกขาด
ไม่รู้จะทำอย่างบางคนเป็นแม่บ้าน พระองค์ท่านก็ทรงเอื้อมพระหัตถ์ลงมาชุบชีวิตคนใกล้จมน้ำให้อยู่รอด ตัวอย่างอันนี้เป็นประจักษ์พยานอย่างเห็นได้ ชัด
 ประธานกลางมุสลิม OIC เห็นแล้วยังเทิดพระเกียรติว่าทรงช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม ไม่เลือกชาติศาสนา

บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 14:08:28 โดย เค »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:54:03 »









สัญลักษณ์ประจำวันแม่

ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันแม่







บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 14:30:31 โดย เค »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:54:14 »

 







กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
2. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 14:32:15 โดย เค »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:54:24 »





บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 01:57:39 โดย ♥~✪ Cane ✪~✿ »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:55:17 »





บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 01:46:30 โดย ♥~✪ Cane ✪~✿ »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:55:27 »





บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 01:39:52 โดย ♥~✪ Cane ✪~✿ »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #17 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:55:39 »





บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 00:47:14 โดย ♥~✪ Cane ✪~✿ »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:55:50 »










ขอบคุณเจ้าของข้อมูลภาพ จาก fb.เป็น อยู่ คือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ขอบคุณมากๆค่ะ /cane
สวัสดีค่ะ
บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 สิงหาคม 2015, 12:03:52 โดย ♥~✪ Cane ✪~✿ »
cane13
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #19 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 08:56:15 »





<a href="https://www.youtube.com/v/DtR9dbtKYcw?fs=1&amp;autoplay=1" target="_blank">https://www.youtube.com/v/DtR9dbtKYcw?fs=1&amp;autoplay=1</a>

ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายพระพรชัยมงคล
ขอพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ
มีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ ตลอดกาลตลอดไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

♥~✪ Cane ✪~✿
ผู้ช่วยWebmaster



บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 00:20:55 โดย ♥~✪ Cane ✪~✿ »
@ yada @
หัวหน้าPublic Relations
Golden Hero C8
*

พลังน้ำใจ: 28789
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 30,472


รวย ทุกงวด


« ตอบ #20 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 09:01:37 »








 



ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า

yada / หัวหน้าPublic Relations
เจ้าหน้าที่ apichoke.biz 


บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 สิงหาคม 2015, 16:26:45 โดย @ yada @ »
sofar
ผู้ดูแลบอร์ด
Golden Hero C8
*

พลังน้ำใจ: 21620
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 28,618



« ตอบ #21 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 13:40:40 »


บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 สิงหาคม 2015, 07:21:37 โดย sofar »

sofar
ผู้ดูแลบอร์ด
Golden Hero C8
*

พลังน้ำใจ: 21620
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 28,618



« ตอบ #22 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 13:50:22 »






บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 สิงหาคม 2015, 07:44:18 โดย sofar »

@♦อุ๋ยโหย๋♦@
ผู้อำนวยการบอร์ด
Diamond Hero C9
*

พลังน้ำใจ: 45240
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 171,573



« ตอบ #23 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 15:34:07 »



บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 สิงหาคม 2015, 07:44:28 โดย @♦อุ๋ยโหย๋♦@ »

zygotes
ปรมาจารย์ C11
ผู้ดูแลบอร์ด

Golden Hero C8
*

พลังน้ำใจ: 23459
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,979


เราจะรวยไปด้วยกัน


« ตอบ #24 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 15:45:16 »




ในวโรกาส มหามงคล วันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายพระพร
ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า
zygotes
ผู้ดูแลบอร์ด



บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 สิงหาคม 2015, 13:48:45 โดย zygotes »
Tee1
รองหัวหน้าสื่อสารมวลชน
Diamond Hero C9
*

พลังน้ำใจ: 29580
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 52,116


ไม่จำเป็นต้องทำตัวดี ให้ใครชมว่าดี


« ตอบ #25 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2015, 21:29:50 »








ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายพระพรชัยมงคล
ขอพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ
มีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ ตลอดกาลตลอดไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

Tee1
รองหัวหน้าสื่อสารมวลชน
บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 สิงหาคม 2015, 07:32:00 โดย Tee1 »


บทกลอนคลายเครียด
http://www.apichoke.biz/index.php/topic,12009.0.htm
Mr.M@N
อาจารย์เพชรมรกต C9
Super Hero C7
*

พลังน้ำใจ: 7468
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,946



« ตอบ #26 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2015, 07:59:58 »














บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 สิงหาคม 2015, 12:19:29 โดย Mr.M@N »
pat12
อาจารย์มงกุฏเพชร C8
Golden Hero C8
*

พลังน้ำใจ: 14547
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,930



« ตอบ #27 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2015, 08:21:39 »



พระคือความสดใสในชีวิต
ที่รวมจิตรรวมใจไทยทั้งผอง
พระประทานความฝันอันเรื่องรอง
เป็นแสงทองส่องถิ่นแผ่นดินไทย
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า pat12 opera12
สมาชิกเวปอภิโชค.biz

บันทึกการเข้า

ร้อยคนรัก ไม่เท่าหนึ่งคนที่ภักดี  ร้อยคำหวานที่มี ไม่อาจเท่าหนึ่งคำที่จริงใจ

noofha
ผู้ดูแลบอร์ด
Golden Hero C8
*

พลังน้ำใจ: 4935
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 14,627



อีเมล์
« ตอบ #28 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2015, 10:21:39 »








บันทึกการเข้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2015, 10:26:10 โดย noofha »

•— หวยซอง & นิตยสารหวยซอง Apichoke.biz —•
http://www.apichoke.biz/index.php/board,2.0.htm
ลุงเล้ง
Hero Member C6
*

พลังน้ำใจ: 2317
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 815



« ตอบ #29 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2015, 18:44:57 »

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

เว็บไซต์ในเครือข่ายอภิฺโชค "เว็บมหาชน คนมหาโชค"
Link เว็บเพื่อนบ้าน
บ้านขงเบ้ง2

"ศาสตร์ของการคำนวณหวย สถิติหวยความน่าจะเป็น บนเว็บนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน-นักคำนวณ และบุคคลทั่วไปตลอดจนเลขจากไสยศาสตร์ต่างๆ การที่ใครจะถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือถูกหวย รวยด้วยหวย ก็เป็นเพียงแต่ การเสี่ยงโชค เสี่ยงดวง เท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ และไม่ควรงมงาย หากต้องการเสี่ยงโชค ซื้อหวย เล่นหวย ก็ขอให้ เสี่ยงโชคแต่พอเพียงตามกำลังของตนเอง อย่าซื้อเกินกำลังอาจทำให้เดือนร้อนได้"
คำเตือน : อย่าหลงเชื่อหากมีผู้อ้างตนเป็นอาจารย์ดังสามารถให้หวยถูก100%หรือให้ถูกทุกงวดแน่นอน หรืออวดอ้างว่ารู้จักกับเจ้าหน้าที่กองสลาก แล้วเรียกเก็บเงินจากท่าน

ข้อมูลในเว็บนี้ใช้ประกอบเสี่ยงโชคสำหรับซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น ไม่สนับสนุนหวยที่ผิดกฏหมาย
Sitemap | Contact | WAP | xHTML | iMode | WAP 2 | RSS

Powered by SMF 1.1.11 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Sitemap
อภิโชค แหล่งรวมเลขเด็ด หวยซอง วิเคราะห์เลขรวย หวยรัฐบาล 1900222111
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.038 วินาที กับ 22 คำสั่ง